ผู้สนับสนุน

.

*** ต้องขออภัยอย่างสูง ไม่รับพ่นงานแล้วครับ ***
*** I sincerely apologize. Stop Service ***

การผสมน้ำยา-ขั้นตอนการพ่นโครเมี่ยม อย่างละเอียด

การผสมน้ำยา-ขั้นตอนการพ่นโครเมี่ยม อย่างละเอียด

การผสมน้ำยาอย่างละเอียด 
          ขอขอบคุณ ชิ้นงานจาก ช่างดี ร้าน โฮมดีไซร์ปาสเตอร์ซิลิ่ง งานตกแต่งภายใน ต้องที่นี้เลยครับ งานดีมีคุณภาพครับ จาก นาราธิวาส


 


          ผสมน้ำยากระตุ้นผิว ในน้ำกลั่น 1 ลิตร แล้วหมักทิ้งไว้ 2-4 วัน จนเห็นน้ำกลั่นมีการเปลี่ยนแปลงจากน้ำใสๆ กลายเป็นน้ำสีเหลืองอ่อนๆ แสดงว่าพร้อมใช้งาน การเก็บรักษา ถ้าใว้ในห้องปกติ เก็บได้ มากที่สุด 3 สัปดาห์ ถ้าเก็บในตู้เย็นสามารถเก็บรักษาได้ 1-3 เดือน ขึ้นอยู่ว่าก่อนหน้าคอยถูกอากาศมามากน้อยเพียงใด แต่ถ้าเป็นตัวน้ำยาเข้มข้น ที่ยังไม่ได้ผสมน้ำกลั่น สามารถเก็บได้เป็นปีๆ

 

          ผสมน้ำยา A จากน้ำยา A ความเข้มข้น 100 ซีซี ผสมน้ำกลั่นเพิ่ม 400 ซีซี จะได้น้ำยา A พร้อมใช้งาน 500 ซีซี การเก็บรักษา ควรเก็บในที่ล่มๆ น้ำยานี้ไม่เสื่อมสภาพ เก็บไว้ในห้องปกติ

 

          ผสมน้ำยา R จากน้ำยา R ความเข้มข้น 100 ซีซี ผสมน้ำกลั่นเพิ่ม 400 ซีซี จะได้น้ำยา R พร้อมใช้งาน 500 ซีซี การเก็บรักษา ข้อนี้สำคัญคือควรปิดฝาให้สนิท น้ำยานี้ไม่เสื่อมสภาพ เก็บไว้ในห้องปกติ

 

          ผสมน้ำยา PD จากน้ำยา PD ความเข้มข้น 100 ซีซี ผสมน้ำกลั่นเพิ่ม 400 ซีซี จะได้น้ำยา PD พร้อมใช้งาน 500 ซีซี การเก็บรักษา น้ำยานี้ไม่เสื่อมสภาพ เก็บไว้ในห้องปกติ


 


          เตรียมน้ำกลั่น และ น้ำยาให้พร้อมกับการใช้งาน 

ขั้นตอนการพ่นโครเมี่ยมอย่างละเอียด


Base Coat 
กำลังอัฟคลิป 

          พ่น Base Coat ลงบนผิวชิ้นงาน ก่อนการพ่นโครเมี่ยม พ่น Base Coat ให้เกิดเป็นเงา พยายามอย่างพ่นหนาเกินไป เพราะจะทำให้เยิ้ม และ แห้งไม่สนิท Base Coat ตัวนี้พร้อมใช้งาน ถ้าใช้ไม่หมดสามารถเทกลับ ปิดฝาให้สนิท และใช้งานในคราวหน้าได้


          ทำความสะอาดพื้นผิว ด้วยลมเย็น เพื่อขัดฝุ่นผงต่างๆ ออก


 


          เปิดผิวด้วยเปลวไฟ ซึ่งเปลวไฟจะเป็นตัวช่วยสร้างฟิมล์น้ำให้กับพื้นผิวได้ดีขึ้น 80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะทำให้การใช้น้ำยากระตุ้นผิวน้อยลง การใช้เปลวไฟ ควรระมัดระวัง ต้องพ่นผ่านไปผ่านมาไวๆ จะสังเกตเป็นคลื่นความร้อนไล่ผิวงาน ถ้าใครไม่ถนัดก็ไม่ต้องใช้ สามารถใช้น้ำยากระตุ้นผิวพ่นโดยตรงได้ตามปกติเหมือนกัน


          หลังจากพ่นด้วยเปลวไฟแล้ว พ่นน้ำกลั่นล้างอีกครั้ง จะเห็นว่า ที่ผิวงานมีฟิลม์น้ำเกาะเป็นแผ่นๆ แทนการเกิดเป็นเม็ดน้ำ


          พ่นน้ำยากระตุ้นผิวให้ทั่วชิ้นงาน จะเห็นเป็นฟิมล์น้ำเกาะที่ชิ้นงาน




          ล้างตัวกระตุ้นผิวด้วยน้ำกลั่น โดยล้างมากๆ ฉีดแรงๆ (เพื่อไม่ให้เกิดหมอกขาว ตรงนี้สำคัญ) 


          พ่นโครเมี่ยม โดยพ่นจากล่างขึ้นบน พ่นให้ทั่วชิ้นงาน ห้ามพ่นจี้บริเวณใดบริเวณนึ่งนานๆ เมื่อสีโครเมี่ยมขึ้นออกเป็นสีเหลืองๆ ควรสลับล้างด้วยน้ำกลั่นเพื่อลดอาการหมอกขาว แล้วจึงพ่นโครเมี่ยมอีกครั้ง จนกระทั้งได้สีโครเมี่ยมที่ใส แล้วจึงหยุดพ่น เพราะถ้าพ่นมากไป จะเกิดการ over mirror จะเกิดเป็นหมอกขาวที่ผิวงาน ทำให้ความใสลดลง ซึ่งจะทำให้การลง Top Coat ที่ย้อมด้วยสีม่วงอ่อนทำได้ลำบากมาก แต่ถ้าย้อมด้วยสีอื่นๆ ก็ไม่เป็นไร 


          ทำความสะอาดด้วยน้ำกลั่นอีกครั้ง


          ลงน้ำยา PD โดยพ่นให้ทั่วผิวชิ้นงาน สำหรับในกรณีที่ต้องการพ่น Top Coat ต่อจากนี้ภายใน 2 ชั่วโมงเลย อาจไม่จำเป็นต้องพ่นน้ำยา PD เพราะน้ำยา PD จะใช้เพื่อป้องกันผิวจากอากาศในกรณีที่เก็บชิ้นงาน เพื่อพ่น Top Coat ในวันอื่นๆ แต่ไม่เกิน 7 วัน เพราะหลังจาก 7 วัน สีโครเมี่ยมจะเหลือง ดำ หลุดในที่สุด


          ล้างน้ำยา PD ด้วยน้ำกลั่น พ่นล้างจนกระทั่งได้เป็นเม็ดน้ำเกาะที่ชิ้นงาน




          เป่าด้วยลมเย็น ไล่เม็ดน้ำ หรือ คราบน้ำออกจากผิวงานให้หมด ให้แห้งสนิท และ ควรระมัดระวังเรื่องของน้ำจากถังลม ผ่านมาทางสาย เพราะอาจทำให้งานเสียหายได้

ภาพหลังจากขั้นตอน การพ่นโครเมี่ยม เรียบร้อย รอการลง Top Coat






พ่น Top Coat ผสมสีม่วงอ่อน เพื่อย้อมเป็นสีโครเมี่ยม


กำลังอัพคลิป 


ภาพหลังจากขั้นตอน การพ่น Top Coat บนสีโครเมี่ยม 


กำลังอัพภาพ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น