* แก้ไขใหม่ เมื่อวันที่ 01/02/2012 *
ขั้นตอนการผสมน้ำยา (น้ำยาเคมี ณ ปัจจุบัน มีทั้งหมด 5 ตัว)
- น้ำยา WD อัตราส่วนผสม : น้ำกลั่น (1:9 , 2:8 , 3:7 ขึ้นอยู่ความต้องการ) ตัวนี้ขึ้นฝาขาวถ้าล้างไม่สะอาด * WD ใช้เมื่อต้องการพ่นโครเมี่ยมกับชิ้นงานที่ใหญ่มาก และต้องการให้ขึ้นม่านน้ำ-ฟิมล์น้ำนานๆ *
เคมีที่ขายปกติ
- น้ำยา AC อัตราส่วนผสม : น้ำกลั่น (8cc : 1000cc) หลังจากผสมน้ำกลั่นควรทิ้งไว้ 2-4 วันเป็นอย่างน้อย แล้วจึงนำมาใช้งาน เหตุเพราะเพื่อประสิทธิภาพการกระตุ้นผิวที่ดีที่สุด แต่ถ้าผสมน้ำกลั่นแล้วใช้งานเลย จะทำให้เกิดม่านน้ำหรือฟิมล์น้ำเกาะที่ชิ้นงานได้ยาก ฉะนั้นจึงควรวางแผนการผสมไว้ล่วงหน้า และ ควรเก็บรักษาไว้ในตู้เย็น เพื่อยืดอายุ ได้อีกประมาณ 1-3 เดือน จากปกติ 3 สัปดาห์
- น้ำยา R อัตราส่วนผสม : น้ำกลั่น (100cc:400cc) ต้องปิดฝาให้สนิท
- น้ำยา A อัตราส่วนผสม : น้ำกลั่น (100cc:400cc) ต้องปิดฝาให้สนิดและเก็บในที่ไม่มีแสง
- น้ำยา PD อัตราส่วนผสม : น้ำกลั่น (100cc:400cc)
* น้ำยา A,R,PD ไม่มีวันหมดอายุ ไม่มีวันเสื่อมสภาพ ไม่ต้องเก็บเข้าตู้เย็น แต่ต้องปิดฝาให้สนิท *
ขั้นตอนพ่น
1.รองพื้นด้วยสีสเปรย์กระป๋อง สีดำเงา (ตามร้านก่อสร้างทั่วไป) ถ้าชิ้นงานที่ต้องทนความร้อน หรือ ต้องการความยืดเกาะสูง ต้องพ่นสีชนิดนั้นๆ ก่อนการพ่นสีดำเงาเสมอ แต่ถ้าต้องการงานที่มีคุณภาพควรใช้ Base Coat
* Base Coat ที่ทางเราจำหน่ายอยู่ ใช้เวลาแห้งตัว 2-4 วันในอุณหภูมิปกติ และ 2 ชั่วโมงที่ 80 องศา *
ในกรณีที่ไม่ใช้ตัว Wetting Agine (WD) ให้ข้ามไปขั้นตอนที่ 4 ครับ
2.พ่นน้ำยา Wetting Agine หรือ WD ให้ปกคลุมจนเกิดม่านน้ำ(ฟิมล์น้ำ)จนทั่วชิ้นงาน เมื่อพ่นจนทั่วแล้วควรทิ้งเวลาประมาณ 5 วินาที เพื่อสังเกตุให้แน่ใจว่า ม่านน้ำเกาะดีแล้ว และ ไม่เกิดการแห้งตัวเป็นช่วงๆ
3.ล้างด้วยน้ำกลั่นให้สะอาด แต่ต้องให้เกิดม่านน้ำอยู่เช่นเดิม
----------------
4.พ่นน้ำยากระตุ้นผิว AC ลงบนชิ้นงานให้ทั่ว และให้มี ม่านน้ำ-ฟิมล์น้ำเกาะ ถ้าพ่นน้ำยากระตุ้น AC แล้ว ไม่เกิด ม่านน้ำ-ฟิมล์น้ำ หรือ ม่านน้ำ-ฟิมล์น้ำ แตกแห้ง ณ ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ควรพ่นย้ำๆ หลายๆ ครั้งจนกระทั้งเป็น ม่านน้ำ-ฟิมล์น้ำเกาะ
5.ล้างทำความสะอาดน้ำยา AC ด้วยน้ำกลั่นสะอาด ในขณะที่ล้างจะเห็นเป็นม่านน้ำ-ฟิมล์น้ำ ปกติ แต่ถ้า ณ ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ไม่เกิดม่านน้ำ-ฟิมล์น้ำ ควรจะกลับไปทำในขั้นตอนที่ 4 ใหม่อีกครั้ง
- ขั้นตอนนี้ต้องล้างตัวน้ำยา AC ให้สะอาดแบบเน้นๆ อัดแรงๆ กะประมาณใช้น้ำกลั่นล้าง 500-1000cc/ตรางฟุต
- ถ้าล้างตัวน้ำยา AC แล้ว ไม่เกิดม่านน้ำ ณ ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง เมื่อพ่นโครเมี่ยมจะเกิดเป็นจุดเป็นดวงและโครเมี่ยมจะไม่เกาะ แต่ถ้าพ่นทับตำแหน่งนั้นไปเรื่อยๆ จุดนั้นจะหายไปกลายเป็นสีโครเมี่ยมปกติ แต่ส่วนใหญ่มักจะแสดงอาการในตอนจบงาน เมื่อพ่นแลคเกอร์ปิดงานประมาณ 0-7 วัน จุดที่ว่านั้นจะแสดงเป็นจุดดำเล็กๆ และ ดันแลคเกอร์จนล่อนออกมา ณ ตำแหน่งนั้นๆ ซึ่งจุดดังกล่าวอาจมีขนาดตั้งแต่ 0.5 มิลขึ้นไป
* ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญ งานพ่นโครเมี่ยม จะดีหรือไม่ดีอยู่ที่ขั้นตอนนี้ *
6.พ่นน้ำยา A และ R พร้อมๆ กัน พยายามให้ได้ปริมาณที่เท่าๆ กัน เมื่อพ่นครั้งแรกจนทั่วชิ้น เริ่มแรกจะออกสีดำ ตามด้วย สีโครเมี่ยมอมเหลือง จากนั้นจะเริ่มขาวสว่าง
8.พ่นน้ำยา PD ให้ทั่วชิ้นงาน ลักษณะการพ่น พ่นพรมๆ ให้ทั่ว เหมือนกับการพ่นเวลารีดผ้า
9.ล้างน้ำกลั่นให้สะอาด ล้างแบบอัดน้ำแรงๆ จะเกิดเป็นหยดน้ำเกาะผิวงาน และ ผิวงานจะเป็นโครเมี่ยมขาวสว่าง แต่ถ้าไม่เกิดเป็นหยดน้ำหรือเม็ดน้ำ ให้พ่นน้ำยา PD เข้าไปใหม่ และ ล้างอีกครั้ง (ผิวงานต้องไม่เป็น ม่านน้ำ-ฟิมล์น้ำ เกาะ)
10. เป่าด้วยลมเย็นให้หยดน้ำที่เกาะบนผิวงาน หลุดออกไปให้หมด และ ทิ้งชิ้นงานให้แห้งประมาณ 2 ชม. หรือเป่าด้วยไดร์เป่าผม ด้วยลมร้อนประมาณ 5-10 นาที ขึ้นอยู่กับขนาดชิ้นงาน จนแห้งสนิท และระมัดระวังเรื่องฝ่นผงที่ปลิวเข้ามาเกาะชิ้นงาน
11. พ่นแลคเกอร์ปิดทับ
พ่นด้วยแลคเกอร์ Clear 2K ถ้าต้องการสีโครเมี่ยม ให้ผสมสีม่วงอ่อนลงในกาพ่น ในปริมาณที่เหมาะสมกับแลคเกอร์ Clear 2K (1cc:50cc) แล้วจึงพ่นไปเรื่อยๆ จนได้ความใสของโครเมี่ยม แต่ระวังอย่าพ่นจนแลคเกอร์เยื้ม
- ขั้นตอนการพ่นแลคเกอร์นี้ต้องใจเย็นๆ เพราะขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างสำคัญ ส่วนใหญ่พลาดกันในขั้นตอนนี้
- แต่ถ้าพ่นด้วยแลคเกอร์ที่ผสมสีอื่นๆ ก็จะไม่ต้องกังวลเรื่องโครเมี่ยมอมเหลืองที่จะต้องใช้สีม่วงอ่อนมาฆ่าสีเหลืองเลย ฉะนั้นจึงแนะนำย้อมเป็นสีอื่นๆ แทน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว
------------------------
แบบพ่นเปียก (Spray on Chrome)
สำหรับน้ำยาพ่นโครเมี่ยม ณ ปัจจุบัน ต้องชี้แจงให้ทราบ หลายๆ ท่านอาจคาดหวัง ว่าความเป็นโครเมี่ยมที่ได้จะเหมือนกับงานชุบไฟฟ้า ซึ่งก็จริง แต่ปัจจุบันยังมีข้อบกพร่องบางอย่าง จึงได้รวบรวมมาไว้ ณ ตรงนี้ เพื่อการตัดสินใจก่อนซื้อครับ
# น้ำยากระตุ้นผิวไม่เกาะผิว
- ควรรองพื้นด้วย Base Coat กับชิ้นงานนั้นๆ ก่อน หรือถ้าหา Base Coat ไม่ได้จริงๆ อาจใช้ 2K หรือ สีกระป๋องทั่วไป แต่คุณภาพในเรื่องของสีโครเมี่ยม และ การยืดเกาะจะน้อยลง สำหรับ กระจก,หินอ่อน,กระเบื้อง ไม่ต้องรองพื้น สามารถพ่นตัวกระตุ้นผิว และ เริ่มขั้นตอนพ่นโครเมี่ยมได้เลย
- น้ำยากระตุ้นผิว ควรหมักที่ 2-4 วัน จึงจะเกาะผิวงานได้ดี สีของน้ำยาจะเป็นสีเหลืองๆ นิดๆ หลังจาก 3 สัปดาห์ จะเริ่มตกตะกอนระยะนี้ไม่ควรใช้
# เมื่อจบงานพ่นโครเมี่ยมแล้ว จะได้สีเงาสว่างเหมือนกระจก และปกติสวยงามดีในที่ร่ม หรือ ลักษณะการมองแบบตรงๆ แต่เมื่อนำไปส่องกับแสงแดด โดยมองแบบมุมเอียงแนวระนาบ จะเห็นลายต่างๆที่ผิวงาน เช่น หมอกขาว เส้นลายดำ เล็กน้อย
- ณ ตอนนี้ยังไม่ทราบสาเหตุ แต่กำลังพยายามแก้ไขอยู่ อาจใช้เวลาซักระยะ.
# เมื่อพ่นแลคเกอร์ 2K จะเกิดโครเมี่่ยมอมสีเหลืองขึ้นที่ชิ้นงาน
- ปัจจุบันแก้ด้วยการผสมสีม่วงแก้วลงในแลคเกอร์ 2K เล็กน้อย
# เมื่อพ่นแลคเกอร์ 2K หรือ 1K ความเงาจะลดลงเล็กน้อย
- ตรงนี้แก้ยากเพราะเป็นที่สีของเนือแลคเกอร์เอง ลองสังเกตุดีๆ จะมีความขุ่นเล็กน้อย หรือ อาจเลือกใช้ 2K ที่มีคุณภาพ อย่างของตรานกแก้ว
# เวลาพ่นน้ำยา A และ R พร้อมกัน แต่ .. ขึ้นโครเมี่ยมช้า, ไม่ขึ้นเลย, เป็นฝ้าขาว, มีแต่สีดำเกาะ, ขึ้นแต่สีทองไม่ได้สว่างขาวโครเมี่ยม, ออกแดงน้ำเงิน
- ปัญหาเหล่านี้เกิดจากตัวกระตุ้นผิวเสื่อม หรือ น้ำล้างไม่สะอาดแทบทั้งสิ้น (ฉะนั้นจึงต้องให้ความสำคัญกับขั้นตอนของตัวกระตุ้นผิวมากๆ)
# ใช้กาพ่นประกบกัน พ่นน้ำยา A และ R แต่ขึ้นสีโครเมี่ยมช้ามาก หรือ ขึ้นสีแดงน้ำเงินดำ
- ปัญหาเกิดจาก ตัวน้ำยา R จะกัดกร่อนอัลลูมิเนียม ฉะนั้นจึงต้องเคลือบด้วยแลคเกอร์ภายในหัวกาพ่นสี หรือ ชุบเงินแบบจุ่ม
# เมื่อพ่นแลคเกอร์ปิดผิวงาน กดรอยแตกที่สีโครเมี่ยม คล้ายๆ ดินแห้งแตกลาย
- เกิดจาก สีโครเมี่ยมแห้งไม่สนิท, ผสมทินเนอร์ใน 2K หรือ 1K มากไป หรือ ในชั้นลึกๆ ของสีรองพื้นไม่แห้งสนิท
# เมื่อพ่นแลคเกอร์ปิดผิวงาน แล้วเกิดเป็นสีบบอนด์เงิน
- เกิดจากสีรองพื้นไม่แห้งสนิท
# พ่นน้ำยา A และ R แล้วขึ้นสีโครเมี่ยมเป็นดวงๆ จุดๆ
- เกิดจาก ในขั้นตอนการพ่นตัวกระตุ้นผิว เกิดม่านน้ำ-ฟิมล์น้ำไม่ทั่วชิ้นงาน หรือ ม่านน้ำ-ฟิมล์น้ำหายก่อนการพ่น A และ R แก้ไขโดย ในขั้นตอนการพ่นตัวกระตุ้นผิวอาจต้องพ่นย้ำๆ ตำแหน่งเดิมหลายๆ ครั้ง หรือใช้วิธีการรนด้วยเปลวไฟ เพื่อเปิดผิวชิ้นงาน ทำให้เกิดม่านน้ำจากความร้อน
# เกิดฟ้าขาวๆ เป็นหมอก ที่ผิวงาน ทำให้งานเสีย
เกิดขึ้นได้จาก 3 สาเหตุ คือ
- เกิดจากขั้นตอนการล้างตัวกระตุ้นผิวไม่หมด คือ ถ้าน้ำไม่มาก และ แรงพอ ในขั้นตอนนี้พบเจอบ่อยมาก ซึ่งตรงนี้ทางเราได้บอกไปหลายครั้งหลายหนแล้วว่าต้องล้างมากๆ ฉีดแรงๆ ซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่าต้องใช้น้ำปริมาณเท่าไร แรงฉีดแรงเท่าไร ต้องทดสอบและพ่นด้วยตัวเองเท่านั้น! จึงจะทราบดี
- เกิดจากในขึ้นตอนพ่นขึ้นสีโครเมี่ยม การพ่นควรพ่นให้เกิดความเงาใสและ รู้สึกว่าหนาพอ ถ้าพ่นนานไป จะเป็นฝ้าขาวด้านๆ และควรหมุนชิ้นงาน หรือ ไม่ควรพ่นจ่อตำแหน่งใดตำแหน่งนึงนานๆ ลักษณะการพ่นควรพยายามพ่นจากล่างขึ้นบน
- เกิดจากขึ้นตอนเป่าลมไล่หยดน้ำ ขั้นตอนนี้ก็เจอประจำ สำหรับคนที่ไม่ได้ใส่ตัวกรองลม เพราะลมที่ออกมาจะปนมาพร้อมกับน้ำในถังซึ่งสกปรก ทำให้เกิดฝ้าขาว ผิวงานช้ำๆ
* การทำให้งานดี และ เสร็จสมบูรณ์ ในขั้นตอนพ่นโครเมี่ยม จะต้องให้ได้สีโครเมี่ยมที่ เงา ใส เป็นเหมือนกระจกเห็นหน้าตัวเอง และต้องไม่มีรอยฝ้า รอยหมอง หรือ รอยต่างๆ
เพราะในการพ่น Top Coat ทับ จะได้งานที่สวยเงา ใส ตามมา แต่ถ้าในขั้นตอนการพ่นโครเมี่ยม มีรอยฝ้าขาว หมอง แนะนำไม่ต้องพ่น Top Coat ให้เสียของ-เสียเวลาครับ เริ่มต้นทำใหม่ตั้งแต่แรกดีกว่า เพราะยิ่งพ่น Top Coat สีก็จะยิ่งแย่..! *
* ฉะนั้นจึงควรศึกษาข้อมูลให้ดีๆ นะครับ สำหรับน้ำยาเราไม่ได้ดีเลิศหรูอะไร แต่ก็สามารถทำงานได้ในระดับหนึ่ง ถ้าดีก็ต้องโชว์ มีปัญหาก็ต้องแจ้ง ไม่ปิดบังกัน ... จบป่ะ *
แบบพ่นร้อน (Fire on Chrome)
ปัจจุบันอยู่ในระหว่างทดสอบ พร้อมจำหน่าย - - - ปีหน้า
* น้ำยาและอุปกรณ์ทุกอย่างคิดใหม่เองทั้งหมด ไม่ได้ก๊อปใคร ทางเราทำกันแบบบ้านๆ ไม่ใช่โรงงานใหญ่โตโอ้อวดอะไร .. ฉะนั้นทุกอย่างจึงเป็นแบบง่ายๆ แบบ D.I.Y กันเอง .... จบป่ะ *
บทความนี้ไว้สำหรับท่านที่ได้นำน้ำยาไปใช้งาน ทางเราไม่มีคู่มือหรือเอกสารการใช้งานแนบไปให้ สามารถอ่านและศึกษาขั้นตอนได้จากตรงนี้นะครับ ขอบคุณครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น