ผู้สนับสนุน

.

*** ต้องขออภัยอย่างสูง ไม่รับพ่นงานแล้วครับ ***
*** I sincerely apologize. Stop Service ***

พ่นโครเมี่ยม-จบสิ้นกันทีกับน้ำกลั่น-ฝ้าขาวที่น่าเบื่อ

พ่นโครเมี่ยม-จบสิ้นกันทีกับน้ำกลั่น-ฝ้าขาวที่น่าเบื่อ
          เสียเวลากับการทดสอบเรื่อง น้ำกลั่น และ ฝ้าขาวบนผิวงาน มาหลายสัปดาห์ การบ้านสองข้อนี้เป็นปัญหาที่หนักอกหนักใจมาโดยตลอด นอนไม่หลับมาหลายคืน กลัวลูกค้าเอาไปใช้แล้วใช่ไม่ได้ งานไม่จบ ส่งงานไม่ได้... สารพัด นั่งทำการบ้านสองข้อนี้จนไม่ได้ขายของทั้งในบ้านเราเอง และ ใน Ebay คาดว่าคงโดน FB- ในอีกไม่ช้าไม่นาน อาจจะหลุด Top Reted Seller เพราะมัวแต่นั่งผสมน้ำยาแก้การบ้านนี้อยู่ เลยไม่มีเวลาไปส่งของซะที รวมถึงปืนพ่นดัดแปลงที่ต้องกองไว้บนโต๊ะ โดนลูกค้าหลายรายบ่นไม่เสร็จเสียที...... คือ!! ไม่มีกระจิตกระใจจะทำ... เสียค่าเคมีทดสอบ พ่นทิ้งพ่นข้วาง เรียกได้ว่าน้ำยาเคมีพ่นทิ้งไปประมาณเท่าสระว่ายน้ำเด็ก เห็นจะได้ :(


          คลิปนี้ทดสอบกับน้ำยาตัวเดิมทั้งหมด โดยใช้น้ำประปาล้างงานแทนการใช้น้ำกลั่น ผลที่ได้ ฝ้าขาวเพียบ แต่สีโครเมี่ยมก็เงาปกติด แต่ก็ยังแย่อยู่ดี


          คลิปนี้ทดลองเหมือเดิม โดยการฉีดอัดด้วยน้ำประปา ด้วยความแรงเล็กน้อย เผื่อว่าตัวกระตุ้นผิวจะได้ออกๆ ไปบ้าง แต่ก็ห่วยแตกอยู่ดี


          คลิปนี้เป็นการทดสอบกับน้ำกลั่นปกติแต่ก็ยังมีฝ้าขาวอยู่ และ นอกเหนือจากที่ไม่ได้อัดคลิปมีอีกเพียบ 
          จากการทดสอบหลายต่อหลายครั้ง จึงสังเกตุเห็นอะไรบางอย่าง ที่แท้ key ของตัวกระตุ้นผิวอยู่ที่ความรู้ ม.ปลาย เรื่องง่ายๆ ที่ไม่ได้คิดแต่กลับมองข้ามไป ซึ่งตัวกระตุ้นผิวนั้น มีสิ่งที่มันชอบ และ สิ่งที่มันไม่ชอบ และถ้าเราให้สิ่งที่มันชอบมากๆ มันก็จะรีบเอาและก็รีบไป แล้วตัวกระตุ้นผิวชอบอะไร :) ... มันชอบน้ำประปา มันชอบค่า PH 6-8 มันจะไม่เกาะผิวงานถ้าไม่มีเพื่อนที่ชื่อว่า Wetting Agent ถ้ามันอยู่ตัวเดียวมันชอบอยู่กับน้ำกรด เพราะมันอบอุ่นดี ถ้ามันถูกผสมด้วยน้ำกลั่นมันขอตายภายใน 2 วัน แต่ถ้าผสมกับน้ำประปามันจะกินอิ่มและไม่ยอมทำงาน......และอีกหลายๆ อย่าง!
          ฉะนั้นเราจึงกลับมาแก้ไขที่ตัวกระตุ้นผิว จึงได้ตัวกระตุ้นผิวที่ล้างด้วยน้ำประปาได้ และ น้ำประปา สามารถล้างได้ทุกขั้นตอน โดยใช้น้ำกลั่นสำหรับผสมกับน้ำยาเคมี Wetting Agein , AC, A, R, PD เท่านั้น ซึ่งประหยัดต้นทุนไปได้มาก

ทดสอบ พ่นโครเมี่ยม โดยใช้น้ำประปาล้างชิ้นงาน

ชิ้นงานพ่นโครเมี่ยม ที่ล้างด้วยน้ำประปา ไม่มีฝ้าขาว ความเงาปกติ

ทดสอบพ่นโครเมี่ยม ล้างด้วยน้ำประปาสำเร็จ
  
          ไว้มาต่อนะครับ ............ เรื่องขั้นตอน (และลูกค้าท่านใดที่สั่งน้ำยาไปก่อนหน้านี้ กรุณาแจ้ง ซื่อและที่อยู่ ที่ webboard หรือ โทรมานะครับ ปกติผมจะโทรไปแต่อาจจะหลุดบางรายไปบ้าง เพื่อจัดส่งตัวกระตุ้นผิวตัวใหม่ไปให้ครับ)


          คลิปนี้ปรับปรุงตัวกระตุ้นผิวแล้ว แต่ดันพ่นม่านน้ำไม่ทั่ว ทำให้โครเมี่ยมเกาะไม่ทั่วชิ้นงาน 





          ตาม 2 คลิปนี้นะครับ ขั้นตอนปกติทุกอย่าง แต่จะล้างชิ้นงานด้วยน้ำประปาแทนน้ำกลั่น :) จากการทดสอบ พ่นที่กันท่อ Fino 20 อัน อาจมีหมอกขาวบ้างเพียงเล็กน้อย แต่ส่วนมาก 90 เปอร์เซ็นงานออกมาดีมาก อีก 10 เปอร์เซ็นที่เป็นหมอกขาว เนื่องจากใช้ฟ๊อกกี้พ่น ทำให้เวลาพ่นออกมาทำให้เกิดละอองการพ่นน้อย ไม่เหมือนกับการใช้กาพ่น ที่จะได้ละอองน้ำยาที่ดี ทำให้งานออกมาดีตามไปด้วย



          คลิปนี้ที่เห็นตอนแรกกำลังจะพ่นโครเมี่ยมแต่หยุดพ่น และ เริ่มพ่น WD ใหม่ เกิดจากม่านน้ำหาย เลยต้องเริ่มใหม่ และ ในระหว่างการพ่นโครเมี่ยมสลับกับการล้างน้ำประปา เพราะ เพื่อลดการเกิดฝ้าขาว สำหรับในขั้นตอนพ่น PD ที่เห็นว่าพ่นหลายรอบเพราะต้องกำจัดม่านน้ำออกให้หมด เพื่อเคลือบป้องกันอากาศ
          สำหรับขั้นตอนต่างๆ ได้ทำการแก้ไขในบทความ คู่มือ-ขั้นตอน-การใช้งาน-น้ำยาพ่นโครเมี่ยม เป็นที่เรียบร้อยแล้วนะครับ :) และต้องขออภัยสำหรับบางท่านที่ งงๆ ว่า น้ำยาพ่นโครเมี่ยมยังไม่เสร็จสมบูรณ์อีกหรือ เห็นแก้ไขอยู่เลื่อยๆ ขอบอกตรงนี้นะครับ คือ ต้องปรับปรุงเพื่อตอบสนองกับคนไทย และ ง่ายต่อการทำงาน ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ เช่น กาพ่น ปั๊ม ฯลฯ คนไทยเก่งเรื่องประยุกต์ใช้งานอยู่แล้ว เราจึงไม่มีข้ออะไรแนะนำ และถ้าต้องการแบบครบเซตเสร็จสมบูรณ์ไม่ต้องมาลองผิดลองถูก แบบว่าได้ครบเซตและพ่นทำงานได้เลย ก็มีอยู่หลายเจ้านะครับ ราคาตั้งแต่หลายหมื่นจนถึงหลายแสน แต่ขอบอกไว้ก่อน...ต้องศึกษาดูดีๆ..... :) ทำการบ้านเยอะๆนะจะบอกให้.......

คู่มือ-ขั้นตอน-การใช้งาน-น้ำยาพ่นโครเมี่ยม

คู่มือ-ขั้นตอน-การใช้งาน-น้ำยาพ่นโครเมี่ย
* แก้ไขใหม่ เมื่อวันที่ 01/02/2012 *

ขั้นตอนการผสมน้ำยา (น้ำยาเคมี ณ ปัจจุบัน มีทั้งหมด 5 ตัว)

      - น้ำยา WD อัตราส่วนผสม : น้ำกลั่น (1:9 , 2:8 , 3:7 ขึ้นอยู่ความต้องการ) ตัวนี้ขึ้นฝาขาวถ้าล้างไม่สะอาด * WD ใช้เมื่อต้องการพ่นโครเมี่ยมกับชิ้นงานที่ใหญ่มาก และต้องการให้ขึ้นม่านน้ำ-ฟิมล์น้ำนานๆ *

เคมีที่ขายปกติ
     - น้ำยา AC อัตราส่วนผสม : น้ำกลั่น (8cc : 1000cc) หลังจากผสมน้ำกลั่นควรทิ้งไว้ 2-4 วันเป็นอย่างน้อย แล้วจึงนำมาใช้งาน เหตุเพราะเพื่อประสิทธิภาพการกระตุ้นผิวที่ดีที่สุด แต่ถ้าผสมน้ำกลั่นแล้วใช้งานเลย จะทำให้เกิดม่านน้ำหรือฟิมล์น้ำเกาะที่ชิ้นงานได้ยาก ฉะนั้นจึงควรวางแผนการผสมไว้ล่วงหน้า และ ควรเก็บรักษาไว้ในตู้เย็น เพื่อยืดอายุ ได้อีกประมาณ 1-3 เดือน จากปกติ 3 สัปดาห์
     - น้ำยา R อัตราส่วนผสม : น้ำกลั่น (100cc:400cc) ต้องปิดฝาให้สนิท
     - น้ำยา A อัตราส่วนผสม : น้ำกลั่น (100cc:400cc) ต้องปิดฝาให้สนิดและเก็บในที่ไม่มีแสง
     - น้ำยา PD อัตราส่วนผสม : น้ำกลั่น (100cc:400cc)

* น้ำยา A,R,PD ไม่มีวันหมดอายุ ไม่มีวันเสื่อมสภาพ ไม่ต้องเก็บเข้าตู้เย็น แต่ต้องปิดฝาให้สนิท *

ขั้นตอนพ่น
     1.รองพื้นด้วยสีสเปรย์กระป๋อง สีดำเงา (ตามร้านก่อสร้างทั่วไป) ถ้าชิ้นงานที่ต้องทนความร้อน หรือ ต้องการความยืดเกาะสูง ต้องพ่นสีชนิดนั้นๆ ก่อนการพ่นสีดำเงาเสมอ แต่ถ้าต้องการงานที่มีคุณภาพควรใช้ Base Coat 

* Base Coat ที่ทางเราจำหน่ายอยู่ ใช้เวลาแห้งตัว 2-4 วันในอุณหภูมิปกติ และ 2 ชั่วโมงที่ 80 องศา *

ในกรณีที่ไม่ใช้ตัว Wetting Agine (WD) ให้ข้ามไปขั้นตอนที่ 4 ครับ

     2.พ่นน้ำยา Wetting Agine หรือ WD ให้ปกคลุมจนเกิดม่านน้ำ(ฟิมล์น้ำ)จนทั่วชิ้นงาน เมื่อพ่นจนทั่วแล้วควรทิ้งเวลาประมาณ 5 วินาที เพื่อสังเกตุให้แน่ใจว่า ม่านน้ำเกาะดีแล้ว และ ไม่เกิดการแห้งตัวเป็นช่วงๆ 

     3.ล้างด้วยน้ำกลั่นให้สะอาด แต่ต้องให้เกิดม่านน้ำอยู่เช่นเดิม

----------------

     4.พ่นน้ำยากระตุ้นผิว AC ลงบนชิ้นงานให้ทั่ว และให้มี ม่านน้ำ-ฟิมล์น้ำเกาะ ถ้าพ่นน้ำยากระตุ้น AC แล้ว ไม่เกิด ม่านน้ำ-ฟิมล์น้ำ หรือ ม่านน้ำ-ฟิมล์น้ำ แตกแห้ง ณ ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ควรพ่นย้ำๆ หลายๆ ครั้งจนกระทั้งเป็น ม่านน้ำ-ฟิมล์น้ำเกาะ 

     5.ล้างทำความสะอาดน้ำยา AC ด้วยน้ำกลั่นสะอาด ในขณะที่ล้างจะเห็นเป็นม่านน้ำ-ฟิมล์น้ำ ปกติ แต่ถ้า ณ ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ไม่เกิดม่านน้ำ-ฟิมล์น้ำ ควรจะกลับไปทำในขั้นตอนที่ 4 ใหม่อีกครั้ง
          - ขั้นตอนนี้ต้องล้างตัวน้ำยา AC ให้สะอาดแบบเน้นๆ อัดแรงๆ กะประมาณใช้น้ำกลั่นล้าง 500-1000cc/ตรางฟุต
          - ถ้าล้างตัวน้ำยา AC แล้ว ไม่เกิดม่านน้ำ ณ ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง เมื่อพ่นโครเมี่ยมจะเกิดเป็นจุดเป็นดวงและโครเมี่ยมจะไม่เกาะ แต่ถ้าพ่นทับตำแหน่งนั้นไปเรื่อยๆ จุดนั้นจะหายไปกลายเป็นสีโครเมี่ยมปกติ แต่ส่วนใหญ่มักจะแสดงอาการในตอนจบงาน เมื่อพ่นแลคเกอร์ปิดงานประมาณ 0-7 วัน จุดที่ว่านั้นจะแสดงเป็นจุดดำเล็กๆ และ ดันแลคเกอร์จนล่อนออกมา ณ ตำแหน่งนั้นๆ ซึ่งจุดดังกล่าวอาจมีขนาดตั้งแต่ 0.5 มิลขึ้นไป
          * ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญ งานพ่นโครเมี่ยม จะดีหรือไม่ดีอยู่ที่ขั้นตอนนี้ *

     6.พ่นน้ำยา A และ R พร้อมๆ กัน พยายามให้ได้ปริมาณที่เท่าๆ กัน เมื่อพ่นครั้งแรกจนทั่วชิ้น เริ่มแรกจะออกสีดำ ตามด้วย สีโครเมี่ยมอมเหลือง จากนั้นจะเริ่มขาวสว่าง

     7.ล้างน้ำกลั่นให้สะอาด

     8.พ่นน้ำยา PD ให้ทั่วชิ้นงาน ลักษณะการพ่น พ่นพรมๆ ให้ทั่ว เหมือนกับการพ่นเวลารีดผ้า

     9.ล้างน้ำกลั่นให้สะอาด ล้างแบบอัดน้ำแรงๆ จะเกิดเป็นหยดน้ำเกาะผิวงาน และ ผิวงานจะเป็นโครเมี่ยมขาวสว่าง แต่ถ้าไม่เกิดเป็นหยดน้ำหรือเม็ดน้ำ ให้พ่นน้ำยา PD เข้าไปใหม่ และ ล้างอีกครั้ง (ผิวงานต้องไม่เป็น ม่านน้ำ-ฟิมล์น้ำ เกาะ)

     10. เป่าด้วยลมเย็นให้หยดน้ำที่เกาะบนผิวงาน หลุดออกไปให้หมด และ ทิ้งชิ้นงานให้แห้งประมาณ 2 ชม. หรือเป่าด้วยไดร์เป่าผม ด้วยลมร้อนประมาณ 5-10 นาที ขึ้นอยู่กับขนาดชิ้นงาน จนแห้งสนิท และระมัดระวังเรื่องฝ่นผงที่ปลิวเข้ามาเกาะชิ้นงาน

     11. พ่นแลคเกอร์ปิดทับ
          พ่นด้วยแลคเกอร์ Clear 2K ถ้าต้องการสีโครเมี่ยม ให้ผสมสีม่วงอ่อนลงในกาพ่น ในปริมาณที่เหมาะสมกับแลคเกอร์ Clear 2K (1cc:50cc) แล้วจึงพ่นไปเรื่อยๆ จนได้ความใสของโครเมี่ยม แต่ระวังอย่าพ่นจนแลคเกอร์เยื้ม
          - ขั้นตอนการพ่นแลคเกอร์นี้ต้องใจเย็นๆ เพราะขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ค่อนข้างสำคัญ ส่วนใหญ่พลาดกันในขั้นตอนนี้
          - แต่ถ้าพ่นด้วยแลคเกอร์ที่ผสมสีอื่นๆ ก็จะไม่ต้องกังวลเรื่องโครเมี่ยมอมเหลืองที่จะต้องใช้สีม่วงอ่อนมาฆ่าสีเหลืองเลย ฉะนั้นจึงแนะนำย้อมเป็นสีอื่นๆ แทน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว

------------------------

แบบพ่นเปียก (Spray on Chrome)
สำหรับน้ำยาพ่นโครเมี่ยม ณ ปัจจุบัน ต้องชี้แจงให้ทราบ หลายๆ ท่านอาจคาดหวัง ว่าความเป็นโครเมี่ยมที่ได้จะเหมือนกับงานชุบไฟฟ้า ซึ่งก็จริง แต่ปัจจุบันยังมีข้อบกพร่องบางอย่าง จึงได้รวบรวมมาไว้ ณ ตรงนี้ เพื่อการตัดสินใจก่อนซื้อครับ
# น้ำยากระตุ้นผิวไม่เกาะผิว
- ควรรองพื้นด้วย Base Coat กับชิ้นงานนั้นๆ ก่อน หรือถ้าหา Base Coat ไม่ได้จริงๆ อาจใช้ 2K หรือ สีกระป๋องทั่วไป แต่คุณภาพในเรื่องของสีโครเมี่ยม และ การยืดเกาะจะน้อยลง สำหรับ กระจก,หินอ่อน,กระเบื้อง ไม่ต้องรองพื้น สามารถพ่นตัวกระตุ้นผิว และ เริ่มขั้นตอนพ่นโครเมี่ยมได้เลย
- น้ำยากระตุ้นผิว ควรหมักที่ 2-4 วัน จึงจะเกาะผิวงานได้ดี สีของน้ำยาจะเป็นสีเหลืองๆ นิดๆ หลังจาก 3 สัปดาห์ จะเริ่มตกตะกอนระยะนี้ไม่ควรใช้

# เมื่อจบงานพ่นโครเมี่ยมแล้ว จะได้สีเงาสว่างเหมือนกระจก และปกติสวยงามดีในที่ร่ม หรือ ลักษณะการมองแบบตรงๆ แต่เมื่อนำไปส่องกับแสงแดด โดยมองแบบมุมเอียงแนวระนาบ จะเห็นลายต่างๆที่ผิวงาน เช่น หมอกขาว เส้นลายดำ เล็กน้อย
- ณ ตอนนี้ยังไม่ทราบสาเหตุ แต่กำลังพยายามแก้ไขอยู่ อาจใช้เวลาซักระยะ.

# เมื่อพ่นแลคเกอร์ 2K จะเกิดโครเมี่่ยมอมสีเหลืองขึ้นที่ชิ้นงาน
- ปัจจุบันแก้ด้วยการผสมสีม่วงแก้วลงในแลคเกอร์ 2K เล็กน้อย

# เมื่อพ่นแลคเกอร์ 2K หรือ 1K ความเงาจะลดลงเล็กน้อย
- ตรงนี้แก้ยากเพราะเป็นที่สีของเนือแลคเกอร์เอง ลองสังเกตุดีๆ จะมีความขุ่นเล็กน้อย หรือ อาจเลือกใช้ 2K ที่มีคุณภาพ อย่างของตรานกแก้ว

# เวลาพ่นน้ำยา A และ R พร้อมกัน แต่ .. ขึ้นโครเมี่ยมช้า, ไม่ขึ้นเลย, เป็นฝ้าขาว, มีแต่สีดำเกาะ, ขึ้นแต่สีทองไม่ได้สว่างขาวโครเมี่ยม, ออกแดงน้ำเงิน
- ปัญหาเหล่านี้เกิดจากตัวกระตุ้นผิวเสื่อม หรือ น้ำล้างไม่สะอาดแทบทั้งสิ้น (ฉะนั้นจึงต้องให้ความสำคัญกับขั้นตอนของตัวกระตุ้นผิวมากๆ)

# ใช้กาพ่นประกบกัน พ่นน้ำยา A และ R แต่ขึ้นสีโครเมี่ยมช้ามาก หรือ ขึ้นสีแดงน้ำเงินดำ
- ปัญหาเกิดจาก ตัวน้ำยา R จะกัดกร่อนอัลลูมิเนียม ฉะนั้นจึงต้องเคลือบด้วยแลคเกอร์ภายในหัวกาพ่นสี หรือ ชุบเงินแบบจุ่ม

# เมื่อพ่นแลคเกอร์ปิดผิวงาน กดรอยแตกที่สีโครเมี่ยม คล้ายๆ ดินแห้งแตกลาย
- เกิดจาก สีโครเมี่ยมแห้งไม่สนิท, ผสมทินเนอร์ใน 2K หรือ 1K มากไป หรือ ในชั้นลึกๆ ของสีรองพื้นไม่แห้งสนิท

# เมื่อพ่นแลคเกอร์ปิดผิวงาน แล้วเกิดเป็นสีบบอนด์เงิน
- เกิดจากสีรองพื้นไม่แห้งสนิท

# พ่นน้ำยา A และ R แล้วขึ้นสีโครเมี่ยมเป็นดวงๆ จุดๆ
- เกิดจาก ในขั้นตอนการพ่นตัวกระตุ้นผิว เกิดม่านน้ำ-ฟิมล์น้ำไม่ทั่วชิ้นงาน หรือ ม่านน้ำ-ฟิมล์น้ำหายก่อนการพ่น A และ R แก้ไขโดย ในขั้นตอนการพ่นตัวกระตุ้นผิวอาจต้องพ่นย้ำๆ ตำแหน่งเดิมหลายๆ ครั้ง หรือใช้วิธีการรนด้วยเปลวไฟ เพื่อเปิดผิวชิ้นงาน ทำให้เกิดม่านน้ำจากความร้อน

# เกิดฟ้าขาวๆ เป็นหมอก ที่ผิวงาน ทำให้งานเสีย
เกิดขึ้นได้จาก 3 สาเหตุ คือ
- เกิดจากขั้นตอนการล้างตัวกระตุ้นผิวไม่หมด คือ ถ้าน้ำไม่มาก และ แรงพอ ในขั้นตอนนี้พบเจอบ่อยมาก ซึ่งตรงนี้ทางเราได้บอกไปหลายครั้งหลายหนแล้วว่าต้องล้างมากๆ ฉีดแรงๆ ซึ่งไม่สามารถบอกได้ว่าต้องใช้น้ำปริมาณเท่าไร แรงฉีดแรงเท่าไร ต้องทดสอบและพ่นด้วยตัวเองเท่านั้น! จึงจะทราบดี
- เกิดจากในขึ้นตอนพ่นขึ้นสีโครเมี่ยม การพ่นควรพ่นให้เกิดความเงาใสและ รู้สึกว่าหนาพอ ถ้าพ่นนานไป จะเป็นฝ้าขาวด้านๆ และควรหมุนชิ้นงาน หรือ ไม่ควรพ่นจ่อตำแหน่งใดตำแหน่งนึงนานๆ ลักษณะการพ่นควรพยายามพ่นจากล่างขึ้นบน
- เกิดจากขึ้นตอนเป่าลมไล่หยดน้ำ ขั้นตอนนี้ก็เจอประจำ สำหรับคนที่ไม่ได้ใส่ตัวกรองลม เพราะลมที่ออกมาจะปนมาพร้อมกับน้ำในถังซึ่งสกปรก ทำให้เกิดฝ้าขาว ผิวงานช้ำๆ

* การทำให้งานดี และ เสร็จสมบูรณ์ ในขั้นตอนพ่นโครเมี่ยม จะต้องให้ได้สีโครเมี่ยมที่ เงา ใส เป็นเหมือนกระจกเห็นหน้าตัวเอง และต้องไม่มีรอยฝ้า รอยหมอง หรือ รอยต่างๆ
เพราะในการพ่น Top Coat ทับ จะได้งานที่สวยเงา ใส ตามมา แต่ถ้าในขั้นตอนการพ่นโครเมี่ยม มีรอยฝ้าขาว หมอง แนะนำไม่ต้องพ่น Top Coat ให้เสียของ-เสียเวลาครับ เริ่มต้นทำใหม่ตั้งแต่แรกดีกว่า เพราะยิ่งพ่น Top Coat สีก็จะยิ่งแย่..! *

* ฉะนั้นจึงควรศึกษาข้อมูลให้ดีๆ นะครับ สำหรับน้ำยาเราไม่ได้ดีเลิศหรูอะไร แต่ก็สามารถทำงานได้ในระดับหนึ่ง ถ้าดีก็ต้องโชว์ มีปัญหาก็ต้องแจ้ง ไม่ปิดบังกัน ... จบป่ะ *

แบบพ่นร้อน (Fire on Chrome)
ปัจจุบันอยู่ในระหว่างทดสอบ พร้อมจำหน่าย - - - ปีหน้า

* น้ำยาและอุปกรณ์ทุกอย่างคิดใหม่เองทั้งหมด ไม่ได้ก๊อปใคร ทางเราทำกันแบบบ้านๆ ไม่ใช่โรงงานใหญ่โตโอ้อวดอะไร .. ฉะนั้นทุกอย่างจึงเป็นแบบง่ายๆ แบบ D.I.Y กันเอง .... จบป่ะ *

          บทความนี้ไว้สำหรับท่านที่ได้นำน้ำยาไปใช้งาน ทางเราไม่มีคู่มือหรือเอกสารการใช้งานแนบไปให้ สามารถอ่านและศึกษาขั้นตอนได้จากตรงนี้นะครับ ขอบคุณครับ

ทดลองพ่นโครเมี่ยมด้วยขวดสเปรย์

ทดลองพ่นโครเมี่ยมด้วยขวดสเปรย์
         เมื่อพ่นด้วยขวดสเปรย์ทั่วๆ โดยจับสองมือแล้วพ่นน้ำยา A และ R  ในจังหวะและปริมาณเท่าๆ กัน ซึ่งขึ้นสีโครเมี่ยมได้ปกติดี จะมีปัญหาก็แค่เพียงเกิดหมกฝ้าขาวนิดหน่อย เนื่องจากล้างตัวน้ำยา AC ไม่เกลี่ยงเท่านั้นเอง


ขั้นตอน
1. พ่นรองพื้นด้วยแลคเกอร์สีดำเงา หาซื้อได้ทั่วไปตามร้านก่อสร้าง หรือ ร้านจำหน่ายสีสเปรย์
2. เป่าลมร้อน เพื่อให้แลคเกอร์แห้งตัวเร็วขึ้น หรือ ปล่อยทิ้งไว้ตามปกติก็ได้
3. กระตุ้นผิว
4. ล้างน้ำยากระตุ้นผิวให้สะอาด * ขั้นตอนนี้สำคัญ อาจต้องล้างนานกว่าขั้นตอนอื่น *
5. พ่นน้ำยา A และ R พร้อมๆ กัน เพื่อทำให้เกิดสีโครเมี่ยม
6. ล้างทำความสะอาด
7. พ่นน้ำยา PD
8 ล้างน้ำให้สะอาด
9. เป่าด้วยลมเย็นให้หยดน้ำออกให้หมด
10. รอแห้ง 2 ชม.
11. ลงแลคเกอร์ทับ

การล้างสีโครเมี่ยมเก่าออก

การล้างสีโครเมี่ยมเก่าออก
          ปกติการล้างสีโครเมี่ยมเก่าออก สามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการล้างด้วยน้ำยาล้างจานปกติ หรือ แค่การลูบ หรือ ใช้ผ้าเช็ดออก แต่บางครั้ง สีโครเมี่ยมดันยืดเกาะแน่นเกิน และ ล้างออกได้ลำบาก
          ทำไมจึงต้องล้างออก บางครั้ง การพ่นโครเมี่ยม อาจเกิดข้อผิดพลาดบางอย่าง อย่างเช่น เกิดฝ้าขาวมาก หรือ ทิ้งงานไว้นานหลายวัน โดยไม่ได้ลงทับด้วยตัว Shieler ป้องกันไว้ ทำให้ เกิดเหลืองและหลุดล่อน และ หลายๆ ครั้ง อาจต้องพ่นสีรองพื้นทับสีโครเมี่ยมเข้าไปใหม่ทำให้เสียเงินเสียเวลา เป็นอย่างมาก


          วิธีการนี้ไม่ได้เป็นวิธีการที่ดีที่สุด แต่ก็พอช่วยประหยัดเวลาไปได้มาก ง่ายๆ โดยการ ผสมกรดดินประสิว 10-20 ต่อ น้ำกลั่น 80-90 ซีซี บรรจุไว้ในขวดแก้วหรือพลาสติก ใช้ฉีดพ่นหรือใช้พองน้ำนุ่มๆ เช็ด แต่ต้องระมัดระวังมากๆ หน่อย ต้อง ใส่แว่นตา ปิดปากปิดจมูก เพราะกรดตัวนี้เป็นอันตราย ถ้าโดนกรดตัวนี้ในปริมาณที่เข้มข้น โดยไม่ได้เจือจางในน้ำ กระกัดกร่อนโลหะ และ เมื่อถูกผิวหนังจะแสบแดง ฉะนั้นจึงต้องระมัดระวังนะครับ และที่สำครับ ต้องทำงานในที่มีโปร่ง มีอากาศถ่ายเท ... จบ