ผู้สนับสนุน

.

*** ต้องขออภัยอย่างสูง ทางเราต้องขอหยุดให้บริการยาวไม่มีกำหนด เพราะมีภาระกิจต้องไปบำรุงพระพุทธศาสนาในด้านงานสีและปติมากรรม นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 เป็นต้นไป สำหรับท่านใดที่ต้องการสั่งสินค้า กรุณากดเมนูสินค้า***
*** I sincerely apologize. We have to stop providing services for an indefinite period. Because I have a mission to support Buddhism in the areas of painting and sculpture. From December 2022 onwards for anyone who wants to order products. Please press product menu***

ปัญหาการเกิดจุดดำหลังจากพ่นโครเมี่ยม

ปัญหาการเกิดจุดดำหลังจากพ่นโครเมี่ยม


ปัญหานี้จากการสอบถาม ได้ความว่า อาจเกิดจาก
- น้ำกลั่นมีค่า PH สูงเกินไป ปกติจะใช้ค่าประมาณ 0-1
- ล้างตัว Activator ไม่หมด
- ม่านน้ำไม่ทั่วถึง

          จากการทดสอบเพื่อให้เพื่อหาสาเหตุที่เกิดขึ้น และพยายามให้ได้จุดดำ เหมือนกับหลายๆ ท่านที่เป็น ในที่สุดก็ได้จุดดำบนโครเมี่ยมอย่างที่ตั้งใจไว้ น่าจะเหมือนกัน..!
- น้ำกลั่นปกติจะมีค่า PH ที่ต่ำมาก อาจถึง 0 นั้นคือมีความเป็นกรด จากการทดสอบ ใช้น้ำกลั่นที่มี PH ประมาณ 4-5 ล้างระหว่างแต่ละขั้นตอนของการพ่นโครเมี่ยม จนถึงเสร็จงาน ผลที่ได้ไม่แตกต่างจากการใช้น้ำกลั่นที่มีค่า PH ต่ำๆ หลังพ่นโครเมี่ยมเสร็จ ทิ้งขิ้นงานไว้ 2 วัน แล้ว ลง 2K แล้วทิ้งยาวดูอาการ 3 วัน ไม่เกิดจุดดำใดๆ
- ล้างตัว Activator ออกไม่หมด ตรงนี้ได้ทำการทดสอบแล้ว เมื่อล้างไม่หมดไม่สะอาดพอ จะทำให้เกิดฝ้าขาวๆ เมื่อยิ่งพ่นตรงบริเวณที่เป็นฝ้าขาวจะหมอง ไม่เป็นโครเมี่ยมเงา ตรงนี้จะเห็นทันที และหลังพ่นโครเมี่ยมเสร็จ ทิ้งขิ้นงานไว้ 2 วัน แล้ว ลง 2K แล้วทิ้งยาวดูอาการ 3 วัน มีความหมองตรงบริเวณนั้น แต่ไม่เกิดจุดดำใดๆ
- ม่านน้ำไม่ทั่วถึง ตรงนี้เมื่อพ่นตัว Activator แบบบางๆ เร็วๆ คือ ขี้เหนียว ใช้เวลาแป๊ปเดียว แล้วล้างน้ำเลย เมื่อพ่นโครเมี่ยมตามขั้นตอนเสร็จ ทิ้งขิ้นงานไว้ 2 วัน ยังไม่ทันลง 2K เลยมีจุดดำ เป็นจุดๆ เกิดขึ้นตามความต้องการ

          จากการทดสอบ ถ้าพื้นผิวที่มีความตึงตัวสูง(ณ จุดๆนั้น)ก็จะเกิดจุดดำเช่นเดียวกัน แม้จะพ่นตัว Activator อย่างปราณีตแล้วก็ตาม พื้นผิวที่มีความตึงตัวสูง ก็คือพื้นผิวของตัว Base Coat เองที่มีผิวมีความตึงตัวสูง หรือ พ่นโครเมี่ยมตรงๆ ที่ผิวชิ้นงานเลย โดยไม่ลง Base Coat ฝรั่งเค้าแก้ทางโดยการใช้ Wetting Agent ช่วย ลดความตึงผิวอย่างสม่ำเสมอทั่วพื้นผิวชิ้นงาน

เอามาจากในเน็ต วิชาการ.คอม
" Wetting agent แปลตรงตัวว่า สารที่ทำให้เปียก คือ สารที่ทำให้ของเหลวแพร่ไปหรือซึมเข้าไปในสารอื่นๆ โดยการลดความตึงผิวลงนั้น บางที่เรียก Surface-acting-agent (สารที่มีบทบาทต่อผิว) เขาเอาคำสามคำมาย่อเป็น Surfactant"

          คลิปวิดีโอจากฝรั่งท่านหนึ่งจากนิคาลากัว By nicamarvin  คนนี้เป็นเทพอีกคนนึง ถ้าท่านไดมีปัญหาลองสอบถามเค้าได้ เพราะผมก็ได้คำตอบหลายๆ อย่างจากท่านนี้ :) และเมื่อดูดีๆ ในคลิป จะเห็นว่าน้ำที่เค้าใช้ล้างระหว่างขั้นตอนการพ่นโครเมี่ยมนั้น เค้าใช้น้ำที่ไหน ถ้าท่านใดให้ความสำคัญกับน้ำกลั่นเวอร์มากเกินไป สงสัยลองถามเค้าดูนะครับ :)


นี้เป็นขั้นตอนการล้างไขมัน คราบรอยนิ้วมือต่างๆ โดยใช้น้ำยาล้างจาน


หลังจากทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างจาน จะเห็นว่าเมื่อล้างน้ำแล้วจะเกิดเป็นหยดน้ำไม่เกาะชิ้นงาน


ทดสอบโดยใช้แรงดันน้ำเสมือนการพ่นชิ้นงานจะเห็นว่าไม่เกิดม่านน้ำ


หลังจากการล้างด้วย Wetting Agent แล้วจะเห็นว่าเกิดม่านน้ำเคลือบทั่วผิวชิ้นงาน


เมื่อพ่นด้วยแรงดันน้ำ ม่านน้ำก็ยังคงเกาะติดแน่น เพื่อรอการลงตัว Activator ต่อไป

ตัว Wetting Agent คืออะไร เป็นอย่างไร ตามนี้นะครับ



ถ้าท่านใดสนใจ ต้องต้องการทดลองนำไปใช้งาน สั่งผสมเคมีได้นะครับ ลิตรละพัน ใช้ผสมน้ำกลั่น 10:100 จ้า

ปล. ต้องขออภัย คำตอบเรื่องจุดดำอาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด แต่ก็ยังดีกว่าไม่รู้ หรือ ไม่มีแนวทางใดๆ เกี่ยวกับปัญหานี้เลย ถ้ามีคำตอบถึงแนวทางต่างๆ จะแจ้งให้ทราบในโอกาสหน้านะจ้า.... :)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น