คลิป พ่นโครเมี่ยม ต่างประเทศ แหล่มๆ
พ่นสีโครเมี่ยม-พ่นโครเมี่ยม-พ่นสีพระพุทธรูป-พ่นขวดน้ำหอม-พ่นสีบนสแตนเลส / Spray on Chrome-Spray paint Buddha image-Spray perfume bottle-Spray paint on stainless steel อุปกรณ์ น้ำยาเคมี สีโครเมี่ยม การทำสีโครเมี่ยม วิธีพ่นโครเมี่ยม ความรู้การพ่นสีโครเมี่ยม รวมถึง สีพ่นสแตนเลส สียิงทราย ทำสีไทเทเนี่ยม / Equipment, chemicals, chrome paint, Spray on Chrome, chrome paint how to spray chrome Knowledge of chrome spraying, including stainless steel spray paint, sandblast paint, titanium paint
ผู้สนับสนุน
.
*** ต้องขออภัยอย่างสูง ไม่รับพ่นงานแล้วครับ ***
*** I sincerely apologize. Stop Service ***
*** I sincerely apologize. Stop Service ***
ประยุกต์ใช้กาพ่นสีกับการพ่นโครเมี่ยม
ประยุกต์ใช้กาพ่นสีกับการพ่นโครเมี่ยม
ปกติโดยทั่วไป ปืนพ่นสีแบบสองหัว ราคาจะค่อนข้างสูง เริมต้นที่ 6000 บาทขึ้นไป บางครั้งในการเริ่มต้นอาจทำให้ผู้ที่สนใจ หรือ เริ่มต้นทำงานพ่นสีโครเมี่ยมใหม่ๆ เริ่มชั่งใจ เพราะทุ่นเริ่มต้นจะสูงมาก ทำให้คืนทุนได้ยาก ทางเราจึงทดลองประยุกต์ใช้งานกาพ่นสีราคาประหยัด นำมาดัดแปลงใช้งาน และได้ประสิทธิภาพเทียบเท่าหรือน่าจะดีกว่า ปืนพ่นสองหัวราคาเป็นหมื่นๆ จากภาพเป็นการแสดงขั้นตอนการทำต่างๆ สามารถทดลองนำไปใช้กันได้ครับ
จากภาพ ใช้หนังยางรัดเพื่อกะระยะต่างๆ ซึ่งจะเป็นตัวต้นแบบ ก่อนการทำการหล่อ-เชื่อม-แต่งลาย-แต่งสี-อื่นๆ ตัวยืดปืนไว้ด้วยกัน จะเห็นว่า ฟังชั้นการใช้งานต่างๆ ทั้งสองหัว เป็นอิสระต่อกัน คาดว่าจะทำให้ประหยัดปริมาณน้ำยาพ่นโครเมี่ยมได้มากในขณะทำการพ่น และสามารถใช้ได้กับถังแรงดัน, กาข้างซ้ายขวา หรือ ถังแกลลอนสูงได้เป็นอย่างดี
............ ไว้มาต่อครับ ............ ไปส่งน้ำยาที่ชลบุรีครับ ไว้มาต่ออาทิตย์หน้า เด๋อ.......
เพิ่มเติมต่อครับ..............
ตอนนี้ต้นแบบ ความคืบหน้าเหลืออีกประมาณ 20% ก็จะพร้อมใช้งานแล้วครับ สำหรับไกปืน ก็ทำใหม่ จากเดิมเป็นไกปืนของใครของมัน ก็เลยหล่อเป็นไกตัวเดียวกดได้พร้อมกัน เมื่อต้นแบบตัวปืนพ่นโครเมี่ยมแบบมาตรฐานสากล ขนาดเล็ก... เสร็จ ทีนี้ก็ปั๊มหล่อ ปั๊มหล่อ จัดยาวเลยครับ และตอนนี้ยังเหลืออีกหนึ่งอย่างคือ ทำแม่พิมพ์ Core สำหรับช่องและรูต่างๆ ในตัวปืน อาจใช้เวลานิดหน่อย เพราะแกะแม่พิมพ์ด้วยมือ ไม่ได้ใช้เครื่อง CNC เหมือนใครๆ เค้า คาดว่าต้นทุนโดยรวมน่าจะต่ำพอสู้สินค้าจากจีนได้ ลองๆ ทำกันดูนะครับ :) แต่ถ้าต้องการปืนพ่นโครเมี่ยม คุณภาพในระดับอุตสาหกรรม ก็ตามตัวอย่างด้านล่าง ที่ขายกันอยู่ตามท้องตลาดนะครับ
ไว้มาต่อ...........
คลิปนี้เป็นคลิปแสดงการทำงานของกาพ่นสีดัดแปลง เพื่อมาใช้กับงานพ่นโครเมี่ยม จะเห็นว่าการทำงานต่างๆ มีประสิทธิมากกว่า ปืนลมที่นำมาดัดแปลง ฟังก์ชั่นต่างๆ ใช้งานได้ดี ทำให้ไม่สิ้นเปลื่องน้ำยา A และ R
ปกติโดยทั่วไป ปืนพ่นสีแบบสองหัว ราคาจะค่อนข้างสูง เริมต้นที่ 6000 บาทขึ้นไป บางครั้งในการเริ่มต้นอาจทำให้ผู้ที่สนใจ หรือ เริ่มต้นทำงานพ่นสีโครเมี่ยมใหม่ๆ เริ่มชั่งใจ เพราะทุ่นเริ่มต้นจะสูงมาก ทำให้คืนทุนได้ยาก ทางเราจึงทดลองประยุกต์ใช้งานกาพ่นสีราคาประหยัด นำมาดัดแปลงใช้งาน และได้ประสิทธิภาพเทียบเท่าหรือน่าจะดีกว่า ปืนพ่นสองหัวราคาเป็นหมื่นๆ จากภาพเป็นการแสดงขั้นตอนการทำต่างๆ สามารถทดลองนำไปใช้กันได้ครับ
จากภาพ ใช้หนังยางรัดเพื่อกะระยะต่างๆ ซึ่งจะเป็นตัวต้นแบบ ก่อนการทำการหล่อ-เชื่อม-แต่งลาย-แต่งสี-อื่นๆ ตัวยืดปืนไว้ด้วยกัน จะเห็นว่า ฟังชั้นการใช้งานต่างๆ ทั้งสองหัว เป็นอิสระต่อกัน คาดว่าจะทำให้ประหยัดปริมาณน้ำยาพ่นโครเมี่ยมได้มากในขณะทำการพ่น และสามารถใช้ได้กับถังแรงดัน, กาข้างซ้ายขวา หรือ ถังแกลลอนสูงได้เป็นอย่างดี
............ ไว้มาต่อครับ ............ ไปส่งน้ำยาที่ชลบุรีครับ ไว้มาต่ออาทิตย์หน้า เด๋อ.......
เพิ่มเติมต่อครับ..............
ตอนนี้ต้นแบบ ความคืบหน้าเหลืออีกประมาณ 20% ก็จะพร้อมใช้งานแล้วครับ สำหรับไกปืน ก็ทำใหม่ จากเดิมเป็นไกปืนของใครของมัน ก็เลยหล่อเป็นไกตัวเดียวกดได้พร้อมกัน เมื่อต้นแบบตัวปืนพ่นโครเมี่ยมแบบมาตรฐานสากล ขนาดเล็ก... เสร็จ ทีนี้ก็ปั๊มหล่อ ปั๊มหล่อ จัดยาวเลยครับ และตอนนี้ยังเหลืออีกหนึ่งอย่างคือ ทำแม่พิมพ์ Core สำหรับช่องและรูต่างๆ ในตัวปืน อาจใช้เวลานิดหน่อย เพราะแกะแม่พิมพ์ด้วยมือ ไม่ได้ใช้เครื่อง CNC เหมือนใครๆ เค้า คาดว่าต้นทุนโดยรวมน่าจะต่ำพอสู้สินค้าจากจีนได้ ลองๆ ทำกันดูนะครับ :) แต่ถ้าต้องการปืนพ่นโครเมี่ยม คุณภาพในระดับอุตสาหกรรม ก็ตามตัวอย่างด้านล่าง ที่ขายกันอยู่ตามท้องตลาดนะครับ
ไว้มาต่อ...........
คลิปนี้เป็นการทดสอบการพ่นชิ้นงานที่ลง Base Coat สีดำ
คลิปนี้เป็นการทดสอบพ่นชิ้นงานที่เป็นขวดแก้ว
จากการทดสอบ จะเห็นว่าการใช้ถ้วยซ้าย-ขวา ก็สามารถทำงานได้ในระดับหนึ่ง แต่เล่นท่าได้ยาก แนะนำให้ใช้กับ ถังแรงดัน หรือ ถังหยด จะช่วยทำให้การเข้าถึงชิ้นงานได้ดีขึ้น
ปัญหาการเกิดจุดดำหลังจากพ่นโครเมี่ยม
ปัญหาการเกิดจุดดำหลังจากพ่นโครเมี่ยม
ปัญหานี้จากการสอบถาม ได้ความว่า อาจเกิดจาก
- น้ำกลั่นมีค่า PH สูงเกินไป ปกติจะใช้ค่าประมาณ 0-1
- ล้างตัว Activator ไม่หมด
- ม่านน้ำไม่ทั่วถึง
จากการทดสอบเพื่อให้เพื่อหาสาเหตุที่เกิดขึ้น และพยายามให้ได้จุดดำ เหมือนกับหลายๆ ท่านที่เป็น ในที่สุดก็ได้จุดดำบนโครเมี่ยมอย่างที่ตั้งใจไว้ น่าจะเหมือนกัน..!
- น้ำกลั่นปกติจะมีค่า PH ที่ต่ำมาก อาจถึง 0 นั้นคือมีความเป็นกรด จากการทดสอบ ใช้น้ำกลั่นที่มี PH ประมาณ 4-5 ล้างระหว่างแต่ละขั้นตอนของการพ่นโครเมี่ยม จนถึงเสร็จงาน ผลที่ได้ไม่แตกต่างจากการใช้น้ำกลั่นที่มีค่า PH ต่ำๆ หลังพ่นโครเมี่ยมเสร็จ ทิ้งขิ้นงานไว้ 2 วัน แล้ว ลง 2K แล้วทิ้งยาวดูอาการ 3 วัน ไม่เกิดจุดดำใดๆ
- ล้างตัว Activator ออกไม่หมด ตรงนี้ได้ทำการทดสอบแล้ว เมื่อล้างไม่หมดไม่สะอาดพอ จะทำให้เกิดฝ้าขาวๆ เมื่อยิ่งพ่นตรงบริเวณที่เป็นฝ้าขาวจะหมอง ไม่เป็นโครเมี่ยมเงา ตรงนี้จะเห็นทันที และหลังพ่นโครเมี่ยมเสร็จ ทิ้งขิ้นงานไว้ 2 วัน แล้ว ลง 2K แล้วทิ้งยาวดูอาการ 3 วัน มีความหมองตรงบริเวณนั้น แต่ไม่เกิดจุดดำใดๆ
- ม่านน้ำไม่ทั่วถึง ตรงนี้เมื่อพ่นตัว Activator แบบบางๆ เร็วๆ คือ ขี้เหนียว ใช้เวลาแป๊ปเดียว แล้วล้างน้ำเลย เมื่อพ่นโครเมี่ยมตามขั้นตอนเสร็จ ทิ้งขิ้นงานไว้ 2 วัน ยังไม่ทันลง 2K เลยมีจุดดำ เป็นจุดๆ เกิดขึ้นตามความต้องการ
จากการทดสอบ ถ้าพื้นผิวที่มีความตึงตัวสูง(ณ จุดๆนั้น)ก็จะเกิดจุดดำเช่นเดียวกัน แม้จะพ่นตัว Activator อย่างปราณีตแล้วก็ตาม พื้นผิวที่มีความตึงตัวสูง ก็คือพื้นผิวของตัว Base Coat เองที่มีผิวมีความตึงตัวสูง หรือ พ่นโครเมี่ยมตรงๆ ที่ผิวชิ้นงานเลย โดยไม่ลง Base Coat ฝรั่งเค้าแก้ทางโดยการใช้ Wetting Agent ช่วย ลดความตึงผิวอย่างสม่ำเสมอทั่วพื้นผิวชิ้นงาน
เอามาจากในเน็ต วิชาการ.คอม
" Wetting agent แปลตรงตัวว่า สารที่ทำให้เปียก คือ สารที่ทำให้ของเหลวแพร่ไปหรือซึมเข้าไปในสารอื่นๆ โดยการลดความตึงผิวลงนั้น บางที่เรียก Surface-acting-agent (สารที่มีบทบาทต่อผิว) เขาเอาคำสามคำมาย่อเป็น Surfactant"
คลิปวิดีโอจากฝรั่งท่านหนึ่งจากนิคาลากัว By nicamarvin คนนี้เป็นเทพอีกคนนึง ถ้าท่านไดมีปัญหาลองสอบถามเค้าได้ เพราะผมก็ได้คำตอบหลายๆ อย่างจากท่านนี้ :) และเมื่อดูดีๆ ในคลิป จะเห็นว่าน้ำที่เค้าใช้ล้างระหว่างขั้นตอนการพ่นโครเมี่ยมนั้น เค้าใช้น้ำที่ไหน ถ้าท่านใดให้ความสำคัญกับน้ำกลั่นเวอร์มากเกินไป สงสัยลองถามเค้าดูนะครับ :)
นี้เป็นขั้นตอนการล้างไขมัน คราบรอยนิ้วมือต่างๆ โดยใช้น้ำยาล้างจาน
หลังจากทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างจาน จะเห็นว่าเมื่อล้างน้ำแล้วจะเกิดเป็นหยดน้ำไม่เกาะชิ้นงาน
ทดสอบโดยใช้แรงดันน้ำเสมือนการพ่นชิ้นงานจะเห็นว่าไม่เกิดม่านน้ำ
หลังจากการล้างด้วย Wetting Agent แล้วจะเห็นว่าเกิดม่านน้ำเคลือบทั่วผิวชิ้นงาน
เมื่อพ่นด้วยแรงดันน้ำ ม่านน้ำก็ยังคงเกาะติดแน่น เพื่อรอการลงตัว Activator ต่อไป
ตัว Wetting Agent คืออะไร เป็นอย่างไร ตามนี้นะครับ
ถ้าท่านใดสนใจ ต้องต้องการทดลองนำไปใช้งาน สั่งผสมเคมีได้นะครับ ลิตรละพัน ใช้ผสมน้ำกลั่น 10:100 จ้า
ปล. ต้องขออภัย คำตอบเรื่องจุดดำอาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด แต่ก็ยังดีกว่าไม่รู้ หรือ ไม่มีแนวทางใดๆ เกี่ยวกับปัญหานี้เลย ถ้ามีคำตอบถึงแนวทางต่างๆ จะแจ้งให้ทราบในโอกาสหน้านะจ้า.... :)
ปัญหานี้จากการสอบถาม ได้ความว่า อาจเกิดจาก
- น้ำกลั่นมีค่า PH สูงเกินไป ปกติจะใช้ค่าประมาณ 0-1
- ล้างตัว Activator ไม่หมด
- ม่านน้ำไม่ทั่วถึง
จากการทดสอบเพื่อให้เพื่อหาสาเหตุที่เกิดขึ้น และพยายามให้ได้จุดดำ เหมือนกับหลายๆ ท่านที่เป็น ในที่สุดก็ได้จุดดำบนโครเมี่ยมอย่างที่ตั้งใจไว้ น่าจะเหมือนกัน..!
- น้ำกลั่นปกติจะมีค่า PH ที่ต่ำมาก อาจถึง 0 นั้นคือมีความเป็นกรด จากการทดสอบ ใช้น้ำกลั่นที่มี PH ประมาณ 4-5 ล้างระหว่างแต่ละขั้นตอนของการพ่นโครเมี่ยม จนถึงเสร็จงาน ผลที่ได้ไม่แตกต่างจากการใช้น้ำกลั่นที่มีค่า PH ต่ำๆ หลังพ่นโครเมี่ยมเสร็จ ทิ้งขิ้นงานไว้ 2 วัน แล้ว ลง 2K แล้วทิ้งยาวดูอาการ 3 วัน ไม่เกิดจุดดำใดๆ
- ล้างตัว Activator ออกไม่หมด ตรงนี้ได้ทำการทดสอบแล้ว เมื่อล้างไม่หมดไม่สะอาดพอ จะทำให้เกิดฝ้าขาวๆ เมื่อยิ่งพ่นตรงบริเวณที่เป็นฝ้าขาวจะหมอง ไม่เป็นโครเมี่ยมเงา ตรงนี้จะเห็นทันที และหลังพ่นโครเมี่ยมเสร็จ ทิ้งขิ้นงานไว้ 2 วัน แล้ว ลง 2K แล้วทิ้งยาวดูอาการ 3 วัน มีความหมองตรงบริเวณนั้น แต่ไม่เกิดจุดดำใดๆ
- ม่านน้ำไม่ทั่วถึง ตรงนี้เมื่อพ่นตัว Activator แบบบางๆ เร็วๆ คือ ขี้เหนียว ใช้เวลาแป๊ปเดียว แล้วล้างน้ำเลย เมื่อพ่นโครเมี่ยมตามขั้นตอนเสร็จ ทิ้งขิ้นงานไว้ 2 วัน ยังไม่ทันลง 2K เลยมีจุดดำ เป็นจุดๆ เกิดขึ้นตามความต้องการ
จากการทดสอบ ถ้าพื้นผิวที่มีความตึงตัวสูง(ณ จุดๆนั้น)ก็จะเกิดจุดดำเช่นเดียวกัน แม้จะพ่นตัว Activator อย่างปราณีตแล้วก็ตาม พื้นผิวที่มีความตึงตัวสูง ก็คือพื้นผิวของตัว Base Coat เองที่มีผิวมีความตึงตัวสูง หรือ พ่นโครเมี่ยมตรงๆ ที่ผิวชิ้นงานเลย โดยไม่ลง Base Coat ฝรั่งเค้าแก้ทางโดยการใช้ Wetting Agent ช่วย ลดความตึงผิวอย่างสม่ำเสมอทั่วพื้นผิวชิ้นงาน
เอามาจากในเน็ต วิชาการ.คอม
" Wetting agent แปลตรงตัวว่า สารที่ทำให้เปียก คือ สารที่ทำให้ของเหลวแพร่ไปหรือซึมเข้าไปในสารอื่นๆ โดยการลดความตึงผิวลงนั้น บางที่เรียก Surface-acting-agent (สารที่มีบทบาทต่อผิว) เขาเอาคำสามคำมาย่อเป็น Surfactant"
คลิปวิดีโอจากฝรั่งท่านหนึ่งจากนิคาลากัว By nicamarvin คนนี้เป็นเทพอีกคนนึง ถ้าท่านไดมีปัญหาลองสอบถามเค้าได้ เพราะผมก็ได้คำตอบหลายๆ อย่างจากท่านนี้ :) และเมื่อดูดีๆ ในคลิป จะเห็นว่าน้ำที่เค้าใช้ล้างระหว่างขั้นตอนการพ่นโครเมี่ยมนั้น เค้าใช้น้ำที่ไหน ถ้าท่านใดให้ความสำคัญกับน้ำกลั่นเวอร์มากเกินไป สงสัยลองถามเค้าดูนะครับ :)
นี้เป็นขั้นตอนการล้างไขมัน คราบรอยนิ้วมือต่างๆ โดยใช้น้ำยาล้างจาน
หลังจากทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างจาน จะเห็นว่าเมื่อล้างน้ำแล้วจะเกิดเป็นหยดน้ำไม่เกาะชิ้นงาน
ทดสอบโดยใช้แรงดันน้ำเสมือนการพ่นชิ้นงานจะเห็นว่าไม่เกิดม่านน้ำ
หลังจากการล้างด้วย Wetting Agent แล้วจะเห็นว่าเกิดม่านน้ำเคลือบทั่วผิวชิ้นงาน
เมื่อพ่นด้วยแรงดันน้ำ ม่านน้ำก็ยังคงเกาะติดแน่น เพื่อรอการลงตัว Activator ต่อไป
ตัว Wetting Agent คืออะไร เป็นอย่างไร ตามนี้นะครับ
ถ้าท่านใดสนใจ ต้องต้องการทดลองนำไปใช้งาน สั่งผสมเคมีได้นะครับ ลิตรละพัน ใช้ผสมน้ำกลั่น 10:100 จ้า
ปล. ต้องขออภัย คำตอบเรื่องจุดดำอาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด แต่ก็ยังดีกว่าไม่รู้ หรือ ไม่มีแนวทางใดๆ เกี่ยวกับปัญหานี้เลย ถ้ามีคำตอบถึงแนวทางต่างๆ จะแจ้งให้ทราบในโอกาสหน้านะจ้า.... :)
#1 ตัวอย่างงานพ่นโครเมี่ยมจากเมืองนอก
#1 ตัวอย่างงานพ่นโครเมี่ยมจากเมืองนอก
เป็นตัวอย่าง งานพ่นโครเมี่ยมใช้กับงานเฟอร์นิเจอร์ระดับไฮโซ เป็นที่นิยมมากในหมู่ชนชั้นสูงทางยุโรป จากการสืบราคา ชุดนึงเป็นแสนๆ น่าจะเป็นแนวไอเดียหนึ่งสำหรับช่างทำเฟอร์นิเจอร์ไทย เช่น ชุดหมู่บูชา จากชุดไม่กี่พัน อาจกระโดดไปเป็นหมื่นๆ ก็เป็นได้ เพียงแค่พ่นๆๆๆๆ :)
เป็นตัวอย่าง งานพ่นโครเมี่ยมใช้กับงานเฟอร์นิเจอร์ระดับไฮโซ เป็นที่นิยมมากในหมู่ชนชั้นสูงทางยุโรป จากการสืบราคา ชุดนึงเป็นแสนๆ น่าจะเป็นแนวไอเดียหนึ่งสำหรับช่างทำเฟอร์นิเจอร์ไทย เช่น ชุดหมู่บูชา จากชุดไม่กี่พัน อาจกระโดดไปเป็นหมื่นๆ ก็เป็นได้ เพียงแค่พ่นๆๆๆๆ :)
เมื่อสีโครเมี่ยมอมเหลือง
เมื่อสีโครเมี่ยมอมเหลือง
หลายท่านสงสัยว่าสีโครเมี่ยมที่พ่นไปแล้วนั้นออกเป็นสีเหลืองจะเป็นอย่างไร จากภาพ พ่นโครเมี่ยมบนช้อนทดสอบ เมื่อทิ้งไว้ 2 สัปดาห์ สีที่ได้จะเป็นเป็นสีโครเมี่ยมอมเหลืองดังภาพ แต่ถ้าพ่นแลคเกอร์ 2K หรือ พ่นตัวซิลเลอร์ป้องกันผิว จะเกิดสีโครเมี่ยมอมเหลืองขื้นเลยในขณะที่พ่น หลายท่านที่นำไปใช้งาน กลับชอบสีโครเมื่ยมอมเหลืง เพราะดูเป็นสีทอง 14K สวยและเงากว่าการชุบทองซะอีก เหมาะที่จะนำไปใช้งานกับวงการปั่นพระพุทธรูป
สำหรับตัวน้ำยาซิลเลอร์โดยไม่ต้องลงแลคเกอร์ 2K จะเหมาะกับงานที่ตั้งโชว์ภายใน แต่ถ้าต้องการไปใช้งานตากแดดตากฝน ต้องลงแลคเกอร์ 2K เสมอ.
หลายท่านหลีกเลี่ยงที่จะทำสีโครเมี่ยม โดยหันมาทำเป็นโครเมี่ยมสีต่างๆแทน เพราะปัญหาเรื่องอมเหลืองที่เกิดขึ้น แต่ก็อีกหลายๆ ท่านก็มีความชำนาญในเรื่องการพ่นสีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เรื่องนี้จึงไม่ใช้ปัญหา เพียงแค่ผสมม่วงอ่อนใน 2K แค่นั้น หรือ บางครั้งอาจจะเล่นเป็นสี BackChrome ได้โดยการผสมตัวน้ำยาเคมีโดยรวม Z 5cc+K 5cc จากเดิมอย่างละ 10cc ต่อ 100cc ก็จะได้เป็นสี Backchrome แทน.
สีโครเมี่ยมอมเหลืองที่ปล่อยทิ้งไว้เลย โดยไม่ลงแลคเกอร์ หรือ ซิลเลอร์ |
สีโครเมี่ยมอมเหลืองที่ลงตัวน้ำยาซิลเลอร์ |
หลายท่านหลีกเลี่ยงที่จะทำสีโครเมี่ยม โดยหันมาทำเป็นโครเมี่ยมสีต่างๆแทน เพราะปัญหาเรื่องอมเหลืองที่เกิดขึ้น แต่ก็อีกหลายๆ ท่านก็มีความชำนาญในเรื่องการพ่นสีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เรื่องนี้จึงไม่ใช้ปัญหา เพียงแค่ผสมม่วงอ่อนใน 2K แค่นั้น หรือ บางครั้งอาจจะเล่นเป็นสี BackChrome ได้โดยการผสมตัวน้ำยาเคมีโดยรวม Z 5cc+K 5cc จากเดิมอย่างละ 10cc ต่อ 100cc ก็จะได้เป็นสี Backchrome แทน.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)